วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

“ฟ้าทะลายโจร” เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายได้

 

ฟ้าทะลายโจร” กินถูกวิธี เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายได้

ต้องยอมรับว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เข้ามาวุ่นวายในชีวิต ทำให้หลายคนปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต หันมาดูแลตัวเองกันมากขึ้น ประกอบกับมีการหาข้อมูลต่างๆนานาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร อาหารเสริม และต้องยอมรับว่า หากมีการค้นหาข้อมูลจะพบว่า สมุนไพรไทย “ฟ้าทะลายโจรเป็นหนึ่งในยาแพทย์แผนไทยที่ผู้คนให้ความสนใจ เพราะด้วยคุณประโยชน์ที่มากมาย ทั้งรักษาอาการไข้ เจ็บคอ อุจจาระร่วง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ยาฟ้าทะลายโจรต้องทานในปริมาณเท่าไรถึงจะเหมาะสมในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย 

ประโยชน์ของ ฟ้าทะลายโจร

อย่างที่รู้กันดีว่า ฟ้าทะลายโจร ตั้งแต่อดีตมีการใช้อย่างกว้างขวางในวงการแพทย์แผนจีน สำหรับ แก้การอักเสบ และแก้ท้องเสีย รวมทั้งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลอง ก็พบว่า ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการ เช่น 

  • มีฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ 
  • กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 
  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย 
  • ต้านเชื้อไวรัส HIV  

และด้วยเหตุนี้ ฟ้าทะลายโจร จึงเป็นสมุนไพรเบอร์หนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาด โดยข้อมูลของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำการใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิดให้มีอาการดีขึ้นใน 2 กรณี คือ 

  1. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการสามารถใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาด 60 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 5 วัน
  2. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่แสดงอาการเล็กน้อย สามารถใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 5 วัน 

กินฟ้าทะลายโจรอย่างไรให้ปลอดภัย

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ประโยชน์และสรรพคุณของ "กระชาย" ที่มากกว่าต้าน "โควิด-19"

        หลังจากที่ศูนย์ความเป็นด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แถลงถึงประสิทธิภาพการใช้สรรพคุณของกระชายขาว ต้านโควิด-19 ได้ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ทำให้กระชายเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะผลการทดลอง พบสารสกัด 6 ชนิดมีฤทธิ์ยับยั้ง SARS-CoV-2 ได้ 100% และยังไม่เป็นพิษต่อเซลล์ด้วย

        วันนี้ไทยรัฐออนไลน์จึงพาทุกท่านมาศึกษาประโยชน์และสรรพคุณของกระชาย เพื่อจะได้ทราบว่าส่วนใดของกระชายที่กินแล้วต้านโรคได้บ้าง

กระชาย สรรพคุณมากกว่าต้านโควิด-19

กระชาย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Kaempfer แต่ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุกที่เรามักนิยมนำเหง้ามาใช้ประกอบอาหาร แต่กระชายมีสรรพคุณตั้งแต่รากถึงใบ

การใช้กระชายในวัตถุประสงค์ต้านโควิด-19 นั้นยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง โดยเลือกใช้สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งถูกนำมาสกัดใช้ในลักษณะของยา แต่หากนำมาใช้กินกันในอาหารทั่วไป จะมีสรรพคุณดังนี้

  • ใบกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ
  • เหง้าและรากกระชาย แก้บิด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก
  • เหง้าใต้ดินกระชาย แก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง รักษาริดสีดวง


ประโยชน์ของกระชายที่พบเห็นทั่วไป

กระชายที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร พ่อครัวแม่ครัวมักจะใช้กระชายดำ แต่กระชายส่วนใหญ่มีประโยชน์ได้ใกล้เคียงกัน ดังนี้

  • แก้ท้องร่วง - ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว นำไปปิ้งไฟ แล้วนำมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใส คั้นมารับประทาน 1-2 ช้อนแกง
  • แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง - ใช้ราก เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร
  • แก้บิด - ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
  • แก้ริดสีดวง - ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง 3 ช้อนชา นำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย
  • บำรุงหัวใจ - ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ - ส่วนสรรพคุณกระชายเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ตามที่แบรนด์อาหารเสริมต่างๆ แนะนำให้กินเวลาเย็น เพื่อช่วยลดอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืนนั้น ยังต้องรอการศึกษาวิจัยต่อไป

นอกจากกระชายขาว และกระชายดำแล้ว ในตำราสมุนไพรไทยยังได้กล่าวถึงการใช้ กระชายเหลือง ในตำรับยาสำหรับผู้หญิง โดยใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และแก้อาการตกขาวของผู้หญิงได้ ส่วนสรรพคุณของกระชายเหลืองอื่นๆ ก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกับกระชายดำที่กล่าวมาข้างต้น


ทางผู้วิจัยไทยคาดหวังจะพัฒนาการใช้สารสกัดกระชายเพื่อเป็นยาสมุนไพรไทย Modernized Thai Traditional Medicine ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ประเทศไทยค้นพบสารสกัดจากสมุนไพรพื้นบ้านที่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณและคุณประโยชน์ต้านไวรัสในท้องถิ่นของเราเอง

ที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1889689

อ้างอิงจาก
1. มหาวิทยาลัยมหิดล  mahidol.ac.th 
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ http://www.rspg.or.th 
3. โรงพยาบาลอานันทมหิดล http://www.ananhosp.go.th

 

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พืชผักสมุนไพร ป้องกัน covid 19

   ในสภาวะที่ covid 19 กำลังระบาดอย่างหนัก เรามาเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายด้วยพืชผักสมุนไพรของไทยที่มีอยู่รอบตัวกันเถอะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

พืชผักสมุนไพร 3 กลุ่มที่บริโภคในช่วงโรค COVID-19 ระบาด 

1.กลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 

  • พลูคาวหรือผักคาวตอง  

  • เห็ดต่าง ๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดออรินจิ เห็ดหลินจือ

  ตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม

  อื่

2.กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสะสูง (กลุ่มโพลีฟีนอล,ไบโอเฟลโวนอยด์, กลุ่มแอนโทไซยานิ

   2.1 ผักผลไม้และผักพื้นบ้านที่มีวิตามินซีสูงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัส

        - มะรุม, สะเดา, มะระขี้นก, ฟักข้าว, คะน้า, ผักแพว, ผักหวาน, ยอดมะยม, ดอกขี้เหล็ก, พริกชี้ฟ้า

  2.2 วิตามินซีและสารกลุ่มไบโอเฟลโวนอยด์สูง

       - มะขามป้อม(Phyllanthus emblica L.) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12            เท่า รสเปรี้ยวในมะขามป้อมยังมีฤทธิ์กัดเสมหะ บรรเทาหวัด และแก้ไอได้ดีผลไม้หลากสี 

       - ผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม แดง ม่วง ประกอบด้วยสารแอนโทไซยานิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ      

       - ต้านการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นสารช่วยให้วิตามินซีสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น 

3. กลุ่มที่ว่ามีงานวิจัยเบื้องต้นว่ามีสารสำคัญที่อาจช่วยลดโอกาสติดเชื้อ COVID-19

       - ผักผลไม้ที่มีสารเคอร์ซีติน (quercetin) สูงได้แก่ พลูคาวหรือผักคาวตอง หอมแดง หอมหัวใหญ่                  มะรุม แอปเปิ้ล ใบหม่อน

       - ผักผลไม้ที่มีสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) และรูติน (rutin) สูงได้แก่ ผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือก                ผลของพืชตระกูลส้ม (citrus fruit เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า

       - ผักที่มีสารโอเรียนทิน (orientin) เช่น กะเพรา-อื่น ๆเช่น ธัญพืชมี lignan

Download : http://164.115.41.179/tm/sites/default/files/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%20%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%20covid%2019.pdf

 สมุนไพรพื้นบ้านช่วยต้านโควิด-19

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

Thailand Vaccine "ChulaCov19" วัคซีนรุ่นแรกของไทย

 วัคซีนรุ่นแรกของไทย "ChulaCov19" 


14 มิถุนายน  2564 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทดสอบการฉีดวัคซีนให้กับอาสาสมัครผู้ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดีระยะที่ 1 และต่อเนื่องในระยะที่ 2  เพื่อดูการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีนChulaCov19 (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน) ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ทีมนักวิจัย ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเตรียมความพร้อมของสถานที่ แพทย์ พยาบาล บุคลากร เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย มีมาตรฐาน นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและรักษาประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 นอกจากนี้มีศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการวิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยทางการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกมาร่วมกันพัฒนา วิจัย ต่อยอด คิดค้น ผลิตวัคซีน เพื่อใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ ให้กับประชาชน โดยล่าสุด การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นวันแรกที่ทดสอบในอาสาสมัครในระยะที่ 1 และต่อเนื่องไปในระยะที่ 2 ภายใต้การควบคุมดูแลจากหลายภาคส่วนรวมถึงมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในความปลอดภัยสูงสุดของการทดสอบฉีดวัคซีน  

อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน รวมถึงนักวิจัยทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลกที่ร่วมกันพัฒนาวิจัย ต่อยอดคิดค้นผลิตวัคซีน รวมถึงการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ของศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนประสบความสำเร็จสามารถผลิตและพร้อมฉีดให้กับอาสาสมัคร นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่จะนำมาใช้และสร้างคุณประโยชน์และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในระดับสากลอย่างแน่นอน 

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รวมบทความ ความรู้ด้านไอที เทคนิคคอมพิวเตอร์

1. 500 Excel Formula Examples

รวมสูตร Excel มากมาย  เช่น VLOOKUP, INDEX, MATCH, RANK, SUMPRODUCT, AVERAGE, SMALL, LARGE, LOOKUP, ROUND, COUNTIFS, SUMIFS, CHOOSE, FIND, SEARCH, DATE,...

- https://exceljet.net/formulas

2. Excel functions tutorial

- http://excel-formula.fotopulos.net/

3. สรุปสูตร Excel Formular  PDF 

- https://www.udmercy.edu/about/its/help/files/excel-formulas.pdf

4. หนังสือ "Microsoft Excel เพื่องานธุรกิจ" มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

- http://portal5.udru.ac.th/ebook/pdf/upload/18p261n8s374167h11Dn.pdf 

5. หนังสือ "ใช้งานอย่างมืออาชีพ Excel 2010"

- https://km.raot.co.th/uploads/dip/book_copy/2017/07/DB000045_bEoSHIMLZgt4/app/bEoSHIMLZgt4.pdf

6. Windowssiam  MS Office , Windows , MAC และความรู้เบื้องต้นไอที เทคนิคคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ

Excel เบื้องต้น 

New !!! สูตร Excel ปี 2020 พร้อมแบบฟอร์มทางธุรกิจ

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

สร้างรายได้ด้วย Blockdit

 Blockdit คืออะไร

ทุกวันนี้โซเชียลมีเดียกลายเป็นช่องทางรับข่าวสาร เรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว แต่หลายครั้งเราก็จะเจอเนื้อหาที่เราไม่ชอบ เช่น การอวดของเพื่อน การคลิกเบต ข่าวปลอม และบางเรื่องก็อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับเราโดยตรง

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Blockdit (บล็อกดิต) แพลตฟอร์มสำหรับผู้ที่มองหาไอเดียใหม่ ๆ เริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่หลงใหลในการอ่าน เขียน เล่าเรื่องราว และต้องการที่จะสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น ที่นี่ไม่มีระบบเพื่อน ดังนั้นเราจะเห็นแต่เรื่องราวที่เราอยากติดตาม และจะทำให้เกิดไอเดียใหม่ ๆ ได้ 

Blockdit ย่อมาจากคำว่า Block + Edit ซึ่งเป็น 2 ฟีเจอร์หลักที่สำคัญ

  • Block คือการนำเสนอในรูปแบบของ Block หรือ "กล่องข้อความ" ทำให้อ่านง่าย และมีรูปประกอบ ทำให้อ่านเรื่องยาวๆ แล้วสนุกขึ้น
  • Edit คือการเปิดให้ทุกคนเขียน และแบ่งปันไอเดียกันในสังคมได้ ทุกคนสามารถเป็น Editor หรือ บรรณาธิการของเพจตัวเองได้

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

คนละครึ่ง ลงทะเบียนรอบ 2

 เริ่มวันที่ 10 พ.ย. นี้

วิธีลงทะเบียน คนละครึ่ง รับเงิน 3,000 บาท

1.     เข้าไปยัง www.คนละครึ่ง.com และหน้าลงทะเบียน หรือคลิก ที่นี่ 

 

เล่าเรื่องจิปาถะ