วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พืชผักสมุนไพร ป้องกัน covid 19

   ในสภาวะที่ covid 19 กำลังระบาดอย่างหนัก เรามาเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายด้วยพืชผักสมุนไพรของไทยที่มีอยู่รอบตัวกันเถอะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

พืชผักสมุนไพร 3 กลุ่มที่บริโภคในช่วงโรค COVID-19 ระบาด 

1.กลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 

  • พลูคาวหรือผักคาวตอง  

  • เห็ดต่าง ๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดออรินจิ เห็ดหลินจือ

  ตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม

  อื่

2.กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสะสูง (กลุ่มโพลีฟีนอล,ไบโอเฟลโวนอยด์, กลุ่มแอนโทไซยานิ

   2.1 ผักผลไม้และผักพื้นบ้านที่มีวิตามินซีสูงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัส

        - มะรุม, สะเดา, มะระขี้นก, ฟักข้าว, คะน้า, ผักแพว, ผักหวาน, ยอดมะยม, ดอกขี้เหล็ก, พริกชี้ฟ้า

  2.2 วิตามินซีและสารกลุ่มไบโอเฟลโวนอยด์สูง

       - มะขามป้อม(Phyllanthus emblica L.) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12            เท่า รสเปรี้ยวในมะขามป้อมยังมีฤทธิ์กัดเสมหะ บรรเทาหวัด และแก้ไอได้ดีผลไม้หลากสี 

       - ผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม แดง ม่วง ประกอบด้วยสารแอนโทไซยานิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ      

       - ต้านการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นสารช่วยให้วิตามินซีสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น 

3. กลุ่มที่ว่ามีงานวิจัยเบื้องต้นว่ามีสารสำคัญที่อาจช่วยลดโอกาสติดเชื้อ COVID-19

       - ผักผลไม้ที่มีสารเคอร์ซีติน (quercetin) สูงได้แก่ พลูคาวหรือผักคาวตอง หอมแดง หอมหัวใหญ่                  มะรุม แอปเปิ้ล ใบหม่อน

       - ผักผลไม้ที่มีสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) และรูติน (rutin) สูงได้แก่ ผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือก                ผลของพืชตระกูลส้ม (citrus fruit เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า

       - ผักที่มีสารโอเรียนทิน (orientin) เช่น กะเพรา-อื่น ๆเช่น ธัญพืชมี lignan

Download : http://164.115.41.179/tm/sites/default/files/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%20%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%20covid%2019.pdf

 สมุนไพรพื้นบ้านช่วยต้านโควิด-19

ในปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดสมุนไพรไทยจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด-19 สมุนไพรไทยนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้บรรเทาอาการเบื้องต้นของไข้หวัดได้ ซึ่งนายธีระ เชื้อประทุม แพทย์แผนไทยประยุกต์ ประจำบริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด (ไทยเฮิร์บ) บริษัทร่วมทุนขององค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า สมุนไพรไทยนั้นเป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน และเป็นภูมิปัญญาที่ส่งต่อรุ่นสู่รุ่น ไทยเฮิร์บจึงขอแนะนำสมุนไพรพื้นบ้านที่เป็นประโยชน์และแนะนำให้ใช้ 5 ชนิด ดังต่อไปนี้

 1.ฟ้าทะลายโจร มีการศึกษาวิจัยกันอย่างแพร่หลาย ทั้ง จีน สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทย และได้มีการนำเสนอผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง โดยงานวิจัยที่ได้รับการรับรองแล้วพบว่า กลไกต้านไวรัสของฟ้าทะลายโจรป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์ ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์ เพิ่มภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส รวมถึงลดอาการการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส

2.ขิง ซึ่งมีรสเผ็ดร้อน มีคุณสมบัติอุ่น พบฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยทั่วไปแล้วมักนำมากินแก้หวัด ซึ่งขิงนั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระ (anti–oxidant) และสารต้านการอักเสบ (anti-inflammatory) อยู่มากมาย เช่น Gingerol, Shogoal และ Paradoal

3.มะขามป้อม เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โดยพื้นบ้านใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หอบหืด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยสารสำคัญในมะขามป้อมสามารถจับกับขาโปรตีนของไวรัสโควิด-19 และตัวรับ ACE2 ซึ่งมีบทบาทการผ่านเข้าเซลล์ปอด และยังเข้าจับกับเชื้อในหลายตำแหน่งที่มีผลต่อการยับยั้งการสร้างและการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้

4.ขมิ้นชัน จากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส และช่วยยับยั้งการหลั่งสารอักเสบ ทั้งนี้จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่าสารสำคัญของขมิ้นชัน และ demethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโควิด-19 ที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้

5.กระเทียม มีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน สาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยเพิ่มแอนติบอดี้ ชนิด immunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยพบมากที่ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ตามเยื่อเมือกต่างๆ และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งของสาร interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญ quercetin และ allicin ที่พบสามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโควิด-19 ได้

โดยปัจจุบันมีการทำวิจัยและต่อยอดสมุนไพรไทย โดยได้แปรรูปสมุนไพรไทยมาเป็นในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ชนิดแคปซูล ชาผง เพื่อการเข้าถึงที่ง่าย พกพาสะดวก และง่ายต่อการรับประทาน มีวางจำหน่ายตามร้านขายยา โมเดิร์นเทรด และโรงพยาบาลชั้นนำกว่า 60 สาขาทั่วประเทศแล้ว.

ข้อมูลจาก : ศูนย์ข้อมูลยาสมุนไพรฯ. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทาง​เลือก

                   https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30588 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เล่าเรื่องจิปาถะ