วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

“ฟ้าทะลายโจร” เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายได้

 

ฟ้าทะลายโจร” กินถูกวิธี เสริมภูมิคุ้มกันร่างกายได้

ต้องยอมรับว่าหลังจากสถานการณ์โควิด-19 เข้ามาวุ่นวายในชีวิต ทำให้หลายคนปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต หันมาดูแลตัวเองกันมากขึ้น ประกอบกับมีการหาข้อมูลต่างๆนานาเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร อาหารเสริม และต้องยอมรับว่า หากมีการค้นหาข้อมูลจะพบว่า สมุนไพรไทย “ฟ้าทะลายโจรเป็นหนึ่งในยาแพทย์แผนไทยที่ผู้คนให้ความสนใจ เพราะด้วยคุณประโยชน์ที่มากมาย ทั้งรักษาอาการไข้ เจ็บคอ อุจจาระร่วง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ยาฟ้าทะลายโจรต้องทานในปริมาณเท่าไรถึงจะเหมาะสมในการช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย 

ประโยชน์ของ ฟ้าทะลายโจร

อย่างที่รู้กันดีว่า ฟ้าทะลายโจร ตั้งแต่อดีตมีการใช้อย่างกว้างขวางในวงการแพทย์แผนจีน สำหรับ แก้การอักเสบ และแก้ท้องเสีย รวมทั้งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลอง ก็พบว่า ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายประการ เช่น 

  • มีฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ 
  • กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 
  • ต้านเชื้อแบคทีเรีย 
  • ต้านเชื้อไวรัส HIV  

และด้วยเหตุนี้ ฟ้าทะลายโจร จึงเป็นสมุนไพรเบอร์หนึ่งที่ผู้คนให้ความสนใจในช่วงที่ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาด โดยข้อมูลของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แนะนำการใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิดให้มีอาการดีขึ้นใน 2 กรณี คือ 

  1. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการสามารถใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาด 60 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 5 วัน
  2. ผู้ป่วยโควิด-19 ที่แสดงอาการเล็กน้อย สามารถใช้ฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน นาน 5 วัน 

กินฟ้าทะลายโจรอย่างไรให้ปลอดภัย

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ประโยชน์และสรรพคุณของ "กระชาย" ที่มากกว่าต้าน "โควิด-19"

        หลังจากที่ศูนย์ความเป็นด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แถลงถึงประสิทธิภาพการใช้สรรพคุณของกระชายขาว ต้านโควิด-19 ได้ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ทำให้กระชายเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะผลการทดลอง พบสารสกัด 6 ชนิดมีฤทธิ์ยับยั้ง SARS-CoV-2 ได้ 100% และยังไม่เป็นพิษต่อเซลล์ด้วย

        วันนี้ไทยรัฐออนไลน์จึงพาทุกท่านมาศึกษาประโยชน์และสรรพคุณของกระชาย เพื่อจะได้ทราบว่าส่วนใดของกระชายที่กินแล้วต้านโรคได้บ้าง

กระชาย สรรพคุณมากกว่าต้านโควิด-19

กระชาย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Kaempfer แต่ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุกที่เรามักนิยมนำเหง้ามาใช้ประกอบอาหาร แต่กระชายมีสรรพคุณตั้งแต่รากถึงใบ

การใช้กระชายในวัตถุประสงค์ต้านโควิด-19 นั้นยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง โดยเลือกใช้สารสกัดจากกระชายขาว ซึ่งถูกนำมาสกัดใช้ในลักษณะของยา แต่หากนำมาใช้กินกันในอาหารทั่วไป จะมีสรรพคุณดังนี้

  • ใบกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ ถอนพิษ แก้โลหิตเป็นพิษ
  • เหง้าและรากกระชาย แก้บิด ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยารักษาภายนอกทารักษาขี้กลาก
  • เหง้าใต้ดินกระชาย แก้ปวดท้อง แก้มวนท้อง บำรุงกำลัง รักษาริดสีดวง


ประโยชน์ของกระชายที่พบเห็นทั่วไป

กระชายที่ใช้เป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร พ่อครัวแม่ครัวมักจะใช้กระชายดำ แต่กระชายส่วนใหญ่มีประโยชน์ได้ใกล้เคียงกัน ดังนี้

  • แก้ท้องร่วง - ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว นำไปปิ้งไฟ แล้วนำมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใส คั้นมารับประทาน 1-2 ช้อนแกง
  • แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง - ใช้ราก เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร
  • แก้บิด - ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
  • แก้ริดสีดวง - ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง 3 ช้อนชา นำมาตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย
  • บำรุงหัวใจ - ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว
  • เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ - ส่วนสรรพคุณกระชายเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ตามที่แบรนด์อาหารเสริมต่างๆ แนะนำให้กินเวลาเย็น เพื่อช่วยลดอาการนอนไม่หลับตอนกลางคืนนั้น ยังต้องรอการศึกษาวิจัยต่อไป

นอกจากกระชายขาว และกระชายดำแล้ว ในตำราสมุนไพรไทยยังได้กล่าวถึงการใช้ กระชายเหลือง ในตำรับยาสำหรับผู้หญิง โดยใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน และแก้อาการตกขาวของผู้หญิงได้ ส่วนสรรพคุณของกระชายเหลืองอื่นๆ ก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกับกระชายดำที่กล่าวมาข้างต้น


ทางผู้วิจัยไทยคาดหวังจะพัฒนาการใช้สารสกัดกระชายเพื่อเป็นยาสมุนไพรไทย Modernized Thai Traditional Medicine ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ประเทศไทยค้นพบสารสกัดจากสมุนไพรพื้นบ้านที่เปี่ยมไปด้วยสรรพคุณและคุณประโยชน์ต้านไวรัสในท้องถิ่นของเราเอง

ที่มา : https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1889689

อ้างอิงจาก
1. มหาวิทยาลัยมหิดล  mahidol.ac.th 
2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ http://www.rspg.or.th 
3. โรงพยาบาลอานันทมหิดล http://www.ananhosp.go.th

 

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

พืชผักสมุนไพร ป้องกัน covid 19

   ในสภาวะที่ covid 19 กำลังระบาดอย่างหนัก เรามาเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายด้วยพืชผักสมุนไพรของไทยที่มีอยู่รอบตัวกันเถอะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

พืชผักสมุนไพร 3 กลุ่มที่บริโภคในช่วงโรค COVID-19 ระบาด 

1.กลุ่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน 

  • พลูคาวหรือผักคาวตอง  

  • เห็ดต่าง ๆ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดออรินจิ เห็ดหลินจือ

  ตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม

  อื่

2.กลุ่มที่มีวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสะสูง (กลุ่มโพลีฟีนอล,ไบโอเฟลโวนอยด์, กลุ่มแอนโทไซยานิ

   2.1 ผักผลไม้และผักพื้นบ้านที่มีวิตามินซีสูงช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการติดเชื้อไวรัส

        - มะรุม, สะเดา, มะระขี้นก, ฟักข้าว, คะน้า, ผักแพว, ผักหวาน, ยอดมะยม, ดอกขี้เหล็ก, พริกชี้ฟ้า

  2.2 วิตามินซีและสารกลุ่มไบโอเฟลโวนอยด์สูง

       - มะขามป้อม(Phyllanthus emblica L.) มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าวิตามินซีสังเคราะห์ถึง 12            เท่า รสเปรี้ยวในมะขามป้อมยังมีฤทธิ์กัดเสมหะ บรรเทาหวัด และแก้ไอได้ดีผลไม้หลากสี 

       - ผลไม้ที่มีสีเหลือง ส้ม แดง ม่วง ประกอบด้วยสารแอนโทไซยานิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ      

       - ต้านการอักเสบ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน เป็นสารช่วยให้วิตามินซีสามารถออกฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น 

3. กลุ่มที่ว่ามีงานวิจัยเบื้องต้นว่ามีสารสำคัญที่อาจช่วยลดโอกาสติดเชื้อ COVID-19

       - ผักผลไม้ที่มีสารเคอร์ซีติน (quercetin) สูงได้แก่ พลูคาวหรือผักคาวตอง หอมแดง หอมหัวใหญ่                  มะรุม แอปเปิ้ล ใบหม่อน

       - ผักผลไม้ที่มีสารเฮสเพอริดิน (hesperidin) และรูติน (rutin) สูงได้แก่ ผิวและเยื่อหุ้มด้านในเปลือก                ผลของพืชตระกูลส้ม (citrus fruit เช่น ส้ม มะนาว มะกรูด ส้มซ่า

       - ผักที่มีสารโอเรียนทิน (orientin) เช่น กะเพรา-อื่น ๆเช่น ธัญพืชมี lignan

Download : http://164.115.41.179/tm/sites/default/files/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%20%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%20covid%2019.pdf

 สมุนไพรพื้นบ้านช่วยต้านโควิด-19

เล่าเรื่องจิปาถะ