Blockchain
เป็นเทคโนโลยีที่มีคนพูดถึงมากว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนโลกเหมือนที่อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนโลกในยุค
1990 ซึ่งมีการเปรียบเทียบว่า Blockchain
ตอนนี้สภาพเหมือนอินเทอร์เน็ตตอนเริ่มต้น
ซึ่งภาคการเงินจะปล่อยผ่านไปไม่ได้ ต้องมีคนศึกษาเรื่องนี้
เพื่อเป็นการลองทำดูว่า เอา Blockchain มาใช้กับเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างไร
แม้ว่าวันนี้อาจจะยังไม่มีการประยุกต์ใช้ในลักษณะที่เห็นเป็นรูปธรรมก็ตาม
Blockchain
คือระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์
ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่ายใยแมงมุม ที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงิน
และสินทรัพย์ชนิดอื่น ๆ อีกในอนาคต
โดยไม่มีตัวกลางคือสถาบันการเงินหรือสำนักชำระบัญชี ระบบ Blockchain
จะไม่มีตัวกลางอย่างที่เคยเป็นมา ยกตัวอย่างการทำธุรกรรมด้วย Bitcoin
จะมีรหัส Token สร้างขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับ Blockchain และทำการตรวจสอบว่า
Bitcoin นั้น ๆ มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ก่อนที่จะทำธุรกรรมให้สำเร็จต่อไป
เท่ากับว่า Blockchain เป็นระบบโครงข่ายในการทำธุรกรรมต่าง ๆ
ซึ่งตัดตัวกลางอย่างสถาบันการเงินที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันออกไป
ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลง
และอาจจะส่งผลให้สถาบันการเงินที่เป็นตัวกลาง รวมไปถึงสำนักชำระบัญชีต่าง ๆ
ไม่จำเป็นต้องมีอีกในอนาคตได้เลย
หากเทคโนโลยีนี้เข้ามาแทนที่ได้อย่างสมบูรณ์
ขณะที่ Blockchain
ไม่เพียงมีบทบาทอยู่แค่การทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น
หากแต่ยังอาจถูกนำไปใช้ในงานอื่น ๆ
เช่นการเก็บสถิติการเลือกตั้งให้มีความโปร่งใสมากขึ้น การให้ยืม Cloud
Storage ระหว่างกัน, ระบบ Peer to Peer Lending และอื่น ๆ อีกมากมาย
ซึ่งแม้แต่เหล่าธนาคารเองก็ตัดสินใจเข้าลงทุนในการทำ Blockchain
มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยล่าสุด เหล่าสถาบันการเงินอย่างธนาคาร Citibank
ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ รวมไปถึงบริษัท VISA
ก็ได้เข้าลงทุนในบริษัทบล็อกเชนชั้นนำอย่าง Chain.com
เพื่อแนวทางรักษาตลาดเทคโนโลยีนี้เช่นกัน
แนวคิด Blockchain
เริ่มกลับมาเป็นกระแสที่ต้องจับตามมองอีกครั้ง พร้อมมีการพัฒนาใหม่ ๆ
ไปสู่การใช้งานที่มากกว่าการทำธุรกรรม Bitcoin
ในอดีตที่ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก
ผนวกรวมกับกระแสการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ที่ใช้แนวคิด อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์
(Internet of Things) จำเป็นต้องมีการจัดการ
ดูแลอย่างการรักษาความปลอดภัยระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ
และความจำเป็นที่จะต้องบันทึกฐานข้อมูลของการติดต่อต่าง ๆ เหล่านั้น
ทำให้เทคโนโลยีอย่าง Blockchain
ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนบุคคลจะกลายมาเป็นตัวช่วยสำคัญของการใช้งานดังกล่าว
โดยลดขั้นตอนระบบการทำงานให้เรียบง่ายขึ้น มีการยืดหยุ่นที่สูงขึ้น
รวมทั้งการตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
แต่กระนั้นความสำเร็จของ Blockchain
จะสามารถพลิกสถานะการให้บริการด้านการเงินโลกดิจิทัลได้หรือไม่
การหาพาร์ตเนอร์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานกับระบบความซับซ้อนและความหลากหลาย
ในทุกระดับการใช้งานไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างดีที่สุด
ซึ่งถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาไอเดียทางธุรกิจเหล่านี้
ต่างเคยถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง
หากแต่ปัจจุบันเรื่องเช่นนี้ได้กลายเป็นตัวกำหนดผู้ชนะในอนาคต
ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วยการมองว่าซอฟต์แวร์คือตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่นั่นเอง
บทความจากนิตยสาร Eleader ฉบับเดือน พฤษภาคม 2559
ข้อมูลจาก : https://www.techhub.in.th/what-is-blockchain/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น