ผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ต โทรศัพท์ ทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์ มักพยายามโน้มน้าวให้คนทั่วไปทราบว่าอุปกรณ์ของพวกเขามีการแสดงผลที่ดีกว่า ของเจ้าอื่น โดยพยายามสร้างชื่อเรียกหรือคำย่อที่ฟังดูมีสไตล์และบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ ของเทคโนโลยี คุณผู้อ่านคงเคยได้ยินมาบ้าง เช่น Super AMOLED, PenTile, LED, IPS, SUPER-IPS คำเหล่านี้บางคำเป็นชื่อที่ใช้เรียกเทคโนโลยีที่ถูกต้อง แต่บางคำก็เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกในการตลาดเท่านั้น เรามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีหน้าจอแบบดิจิตอลว่ามันทำงานกันอย่างไรและ ทำไมถึงเรียกเช่นนั้น
ในความเป็นจริงแล้ว คุณอาจจะพบหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอลในชีวิตประจำวันเพียง 3 ประเภทเท่านั้น คือ LCD, OLED และ plasma
Plasma
ในปัจจุบันเราจะพบจอแสดงผลแบบ plasma เฉพาะในทีวีที่มีความละเอียดสูงและมีขนาดใหญ่มากเท่านั้น (HDTVs) ซึ่งจอ plasma มีความคมชัดที่ยอดเยี่ยม จอ plasma ไม่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนความสว่างแม้จะดูจากด้านข้าง จึงเหมาะสำหรับสถานที่สาธารณะเช่นในสนามกีฬาหรือโดมกว้างที่มีคนดูจำนวนมาก ซึ่งในตลาดจะจำหน่ายจอ Plasma HDTV ราคาค่อนข้างสูงกว่าจอ LCD ในขนาดเท่ากัน ส่วนต่างของราคามาจากการที่จอ plasma ใช้เวลาสั้นมากในการตอบสนอง (หมายถึงการเปลี่ยนสีของพิกเซลอย่างรวดเร็ว) ซึ่งจะทำให้จอมีอาการเบลอน้อยมากๆ
น่าเสียดายทีจอ plasma มีข้อเสียบางอย่างที่เสียเปรียบจอแบบอื่น นั่นคือมันไม่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กได้ เนื่องจากมันหนาและหนัก แถมยังกินไฟเกินกว่าจะนำไปใส่ในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะบีบเอาจุดพิกเซลจำนวนมากใส่ลงไปในจอ plasma ที่มีขนาดเล็กทำให้อุปกรณ์นั้นจะพบกับปัญหาความละเอียดต่ำในที่สุด ซึ่งในผิวด้านบนของเทคโนโลยี plasma จะมีช่องว่างระหว่างจุดพิกเซลซึ่งปกติแล้วผู้ใช้งานจะมองไม่เห็นช่องว่างนี้ เมื่อนั่งห่างออกไป 10 ฟุตจากหน้าจอทีวีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นบนเครื่องแล็ปท็อปหรือ พีซี มันสามารถตรวจพบได้อย่างแน่นอน
แผนภาพแสดงจอ plasma ที่ขยายให้ดูรายละเอียดภายใน (เซลล์เดียว)
วิธีการทำงาน: จอ plasma
ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน
ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอน
มีชั้นผนังกั้นไว้
โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น
แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ
กลไกการทำงานของจอภาพพลาสมา
จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ
ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้น
ทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา
สารเรืองแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเล็ตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา
ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้