วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

Google Drive เก็บข้อมูลออนไลน์ฟรี

 Google Drive เก็บข้อมูลออนไลน์ฟรี



          กูเกิล ยักษ์ใหญ่แห่งวงการเครื่องมือค้นหาข้อมูล (Search Engine) ได้เปิดตัวบริการใหม่ ที่ มีชื่อว่า Google Drive บริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ (Cloud Storage) โดยให้พื้นที่เก็บข้อมูลมากถึง 16 เทราไบท์ และให้พื้นที่เริ่มต้นฟรี 5 กิกะไบท์ พร้อมบริการให้กับผู้ใช้งานแล้วทั่วโลก
          สำหรับบริการ Google Drive ที่ออกมาล่าสุดนี้ เป็นหนึ่งในบริการพื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ ที่กำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือดอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตลาดที่เกี่ยวกับบริการเก็บข้อมูลออนไลน์นั้น กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้งาน และมีให้เลือกใช้งานอยู่มากมายหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Dropbox, Box.net, SugarSync, Amazon Cloud Drive และ  Apple iCloud เป็นต้น แต่สำหรับ Google Drive ไม่ได้เป็นแค่บริการแชร์ไฟล์ ฝากไฟล์ แต่สามารถแก้ไขไฟล์เอกสารต่าง ๆ จาก Google Drive โดยตรงได้อีกด้วย รวมไปถึงยังมีโปรแกรมเพื่อรองรับการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติ การ Windows และ Mac OS พร้อมทั้งแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ที่รองรับทั้ง iPhone และ Android เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อกับ Google Drive ได้ทุกที่ทุกเวลา

         
นอก จากนี้ Google Drive ยังสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารและรูปภาพได้ และรองรับค้นหาข้อมูลอยู่ภายในไฟล์ ไม่ว่าจะเป็นข้อความตัวอักษรที่อยู่บนเอกสาร ระบบค้นหาจะสแกนโดยใช้เทคโนโลยี Optical Character Recognition (OCR) ได้อย่างแม่นยำ

          ในเบื้องต้น ผู้ใช้งานจะได้รับพื้นที่เก็บข้อมูลฟรี 5 กิกะไบท์ หากพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน สามารถ ซื้อพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมได้ โดยพื้นที่ 25 กิกะไบท์  ราคา 2.49 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 77 บาท), 100 กิกะไบท์ ราคา 4.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 155 บาท), 1 เทราไบท์ ราคา 49.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 1,550 บาท) และ 16 เทราไบท์ ราคา 799.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (ประมาณ 24,000 บาท) เมื่อผู้ใช้งานทำการอัพเกรดพื้นที่ Google Drive ก็จะส่งผลให้พื้นที่บน Gmail เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

          สำหรับใครที่ใช้อีเมล Gmail อยู่แล้วและสนใจบริการ Google Drive สามารถเข้าไปสมัครและทดลองใช้งานได้ที่ https://drive.google.com/start ซึ่งขณะนี้ทางกูเกิลเริ่มทยอยเปิดบริการให้กับผู้ใช้งานบางส่วนแล้ว

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ทำความรู้จักกับหน้าจอบนสมาร์ทโฟน(AMOLED, IPS, TFT, LCD, LED)


ผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นแท็บเล็ต โทรศัพท์ ทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์ มักพยายามโน้มน้าวให้คนทั่วไปทราบว่าอุปกรณ์ของพวกเขามีการแสดงผลที่ดีกว่า ของเจ้าอื่น โดยพยายามสร้างชื่อเรียกหรือคำย่อที่ฟังดูมีสไตล์และบ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ ของเทคโนโลยี คุณผู้อ่านคงเคยได้ยินมาบ้าง เช่น Super AMOLED, PenTile, LED, IPS, SUPER-IPS คำเหล่านี้บางคำเป็นชื่อที่ใช้เรียกเทคโนโลยีที่ถูกต้อง แต่บางคำก็เป็นเพียงแค่ชื่อเรียกในการตลาดเท่านั้น เรามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีหน้าจอแบบดิจิตอลว่ามันทำงานกันอย่างไรและ ทำไมถึงเรียกเช่นนั้น

ในความเป็นจริงแล้ว คุณอาจจะพบหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตอลในชีวิตประจำวันเพียง 3 ประเภทเท่านั้น คือ LCD, OLED และ plasma
Plasma
 ในปัจจุบันเราจะพบจอแสดงผลแบบ plasma เฉพาะในทีวีที่มีความละเอียดสูงและมีขนาดใหญ่มากเท่านั้น (HDTVs) ซึ่งจอ plasma มีความคมชัดที่ยอดเยี่ยม จอ plasma ไม่เปลี่ยนสีหรือเปลี่ยนความสว่างแม้จะดูจากด้านข้าง จึงเหมาะสำหรับสถานที่สาธารณะเช่นในสนามกีฬาหรือโดมกว้างที่มีคนดูจำนวนมาก ซึ่งในตลาดจะจำหน่ายจอ Plasma HDTV ราคาค่อนข้างสูงกว่าจอ LCD ในขนาดเท่ากัน ส่วนต่างของราคามาจากการที่จอ plasma ใช้เวลาสั้นมากในการตอบสนอง (หมายถึงการเปลี่ยนสีของพิกเซลอย่างรวดเร็ว) ซึ่งจะทำให้จอมีอาการเบลอน้อยมากๆ
น่าเสียดายทีจอ plasma มีข้อเสียบางอย่างที่เสียเปรียบจอแบบอื่น นั่นคือมันไม่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กได้ เนื่องจากมันหนาและหนัก แถมยังกินไฟเกินกว่าจะนำไปใส่ในสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะบีบเอาจุดพิกเซลจำนวนมากใส่ลงไปในจอ plasma ที่มีขนาดเล็กทำให้อุปกรณ์นั้นจะพบกับปัญหาความละเอียดต่ำในที่สุด ซึ่งในผิวด้านบนของเทคโนโลยี plasma จะมีช่องว่างระหว่างจุดพิกเซลซึ่งปกติแล้วผู้ใช้งานจะมองไม่เห็นช่องว่างนี้ เมื่อนั่งห่างออกไป 10 ฟุตจากหน้าจอทีวีขนาดใหญ่ แต่ถ้าเป็นบนเครื่องแล็ปท็อปหรือ พีซี มันสามารถตรวจพบได้อย่างแน่นอน

แผนภาพแสดงจอ plasma ที่ขยายให้ดูรายละเอียดภายใน (เซลล์เดียว)
วิธีการทำงาน: จอ plasma ประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสงกว้าง 100-200 ไมครอน มีชั้นผนังกั้นไว้ โดยใช้ขั้วไฟฟ้าในแนวกระจกคอยควบคุมตำแหน่งของเซลล์เหล่านั้น แต่ละเซลล์จะบรรจุก๊าซที่ผสมระหว่างก๊าซซีนอนและก๊าซเฉื่อยอื่นๆ กลไกการทำงานของจอภาพพลาสมา จะมีการเรืองแสงขึ้นเองเหมือนการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ กล่าวคือ ก๊าซในเซลล์เหล่านี้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าจะเกิดการไอออนไนซ์ขึ้น ทำให้ก๊าซแตกประจุและปล่อยแสงอุลตราไวโอเล็ตออกมา สารเรืองแสงจะดูดซับอุลตราไวโอเล็ตและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้เรามองเห็นเป็นภาพได้

เล่าเรื่องจิปาถะ